“พีระพันธุ์” เตือนผู้เก็บอัตราไฟฟ้าเกิน ต้องเสียภาษี

เรื่องปัญหาค่าน้ำมัน ค่าไฟแพงไม่รู้จะจบลงวันไหน นับวันยิ่งแพงขึ้น ล่าสุดรายการ คนดังนั่งเคลียร์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครือ อาร์เอส กรุ๊ป เลยขอเชิญ คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาร่วมพูดคุยกับประเด็นดังกล่าวที่พี่น้องประชาชนอยากรู้ เพราะมีผลกระทบต่อปัญหาปากท้อง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 14.05 น. ทางช่อง 8 กดเลข 27

ท่านบอกว่าจะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงาน มันคืออย่างไรคะ?

คำว่าพลังงานตรงนี้ เราหมายถึงน้ำมันนะ โครงสร้างน้ำมันวันนี้ มันเริ่มต้นที่เขาบอกว่า ภาษาของวงการนี้เขาเรียกตารางส้ม ตารางส้มมาจากไหน มาจากหน่วยงานในกระทรวงพลังงานผม เขาเรียกว่าสำนักนโยบายแผนพลังงานเป็นคนกำหนดขึ้นมาว่า โครงสร้างราคาน้ำมันเป็นอย่างไร กำหนดจากไหน กำหนดจากที่ปฏิบัติกันมา บังเอิญตารางตรงนี้เขาใช้สีของกระทรวงสีส้ม เขาเลยเรียกว่าตารางสีส้ม มันจะประกอบว่าน้ำมันที่ขายในปั๊มน้ำมันมันมาจากไหน เขาก็จะเริ่มต้นบันไดขั้นที่ 1 คือราคาเนื้อน้ำมัน เขาเรียกว่าราคาหน้าโรงกลั่น ราคามาอย่างไรก็เป็นทฤษฎีเป็นสูตร เพราะไม่เคยรู้ต้นทุน ก็เลยคำนวณว่าราคาหน้าโรงกลั่นมันจะมาเอาตัวนั้นบวกตัวนี้ เป็นตัวนั้น แต่ความเป็นจริงเท่าไรไม่รู้นะ แต่สันนิษฐานได้เท่านี้ได้ ประมาณ 21 บาทกว่าครับ จากราคานี้ขายให้ผู้ค้าน้ำมัน พอขายก็จะเกิดภาษีขึ้น ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นก็ต้องมาบวกเพิ่มภาษีสรรพสามิต และประเทศไทยเรามีภาษีต่อไปคือภาษีท้องถิ่น และ VATและเงินสมทบเข้ากองทุนน้ำมัน กับกองทุนส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน และเป็นราคาขายให้กับปั๊มน้ำมัน ก็ไปบวกภาษี บวกค่าการตลาดอีก โครงสร้างเราตอนนี้ในความเห็นผม มันไม่ถูกต้อง

มันทำให้ประชาชนตายไหมคะ?

นี่ไง  ตรงนี้ที่ผมบอกอาจารย์ แต่ละประเทศต่างกัน แต่สำหรับประเทศเรา บันไดขั้นที่ 1 ค่าหน้าโรงกลั่น 20 กว่าบาท ก็ไม่รู้จริงๆเท่าไร ก็เป็นสูตรไงแต่ผมว่าไม่ได้แล้ว ต่อไปต้องเอาของจริง ในระบบภาษีเรียกว่า ระบบ Cost Plus คือต้นทุนจริงบวกค่าใช้จ่ายจริงมานั่งคิด ตารางตัวนี้จึงต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างรูปแบบของการกำหนดตัวนี้

          อันที่ 2 ผมคิดว่าเอามารวมกับค่าน้ำมันไม่ได้คือ เงินที่สมทบเข้ากองทุนต่างๆ มันเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดว่าให้ผู้ค้าน้ำมันต้องเป็นคนจ่ายเหมือนภาษี เมื่อจ่ายไปแล้วก็เป็นคอร์สที่คุณต้องไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แต่ไม่ใช่มาบวกในค่าน้ำมันอีก ถ้าคนมาบวกในค่าน้ำมันก็เท่ากับให้ประชาชนจ่าย ถูกไหม ทั้งหมดที่ต้องทำ ผมต้องเปลี่ยนกฎหมายใหม่หมดเลย

ค่าไฟมีแต่ขึ้นไม่เคยลง แอบขึ้นหรือเปล่า ประชาชนเดือดร้อนเรื่องค่าไฟ?

ผมอยู่มา ไม่ขึ้นนะ ทุก 4 เดือน ปกติต้องปรับขึ้น แต่ผมอยู่มายังไม่ขึ้นนะครับ พอจะขึ้นทีไรก็ไม่ขึ้นสักทีอาจารย์

ถ้าเกิดขึ้นจะก้าวกระโดด จนพวกเดี๊ยนแบนเป็นกล้วยปิ้งไหมคะ?

คือตรงนี้ มันเป็นปัญหานะครับ ผมเรียนอาจารย์อย่างนี้ จากการที่รัฐบาลหลายช่วงที่ผ่านมา ต้องการอยากช่วยประชาชนที่ไม่ให้ค่าไฟแพง มันสวนทางกับความเป็นจริง เพราะความเป็นจริงค่าแก๊สโลกมันขึ้น  ประเทศไทยมีคนพูดอยู่ว่า เวียดนามเขายูนิตไม่กี่ตังค์ ประเทศไทยทำไม 4-5 บาท อาจารย์เวียดนามเขาผลิตจากลิกไนต์ ถ่านหินเป็นหลัก ประเทศไทยบอกไม่ได้ เดี๋ยวสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ แล้วมันเทียบกันได้อย่างไร วัตถุดิบมันคนละอย่าง ฯลฯ

ปีหน้า แนวโน้มค่าไฟจะเป็นอย่างไรคะ มีแนวโน้มจะช่วยตรึงให้ไหมคะ?

เรื่องไฟ เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าค่าน้ำมันเยอะมาก เพราะมันมีปัจจัยเยอะมากจริงๆ ผมก็พยายามทำอยู่ แต่ว่าปัจจัยหลักของการผลิตไฟฟ้า คือเรื่องของแก๊ส เพราะเราใช้แก๊สเป็นหลักตอนนี้ที่ผมบอก แล้วแก๊สมันอยู่ที่ราคาตลาดโลก สำคัญที่สุด ตลาดโลกปัจจัยก็จะอยู่ เช่น สงคราม เพราะฉะนั้นค่าไฟก็จะปรับทุก 4 เดือน ทำไมต้องปรับทุก 4 เดือน เพราะเขาคำนวณ ค่าแก๊สทุก 4 เดือน เอามาเฉลี่ยว่า 4 เดือนหน้ามันควรจะเป็นเท่าไร ตรงนี้ค่า Ft ซึ่งอันนี้ยากที่จะประเมิน แต่เราก็จะพยายามตรึงไว้ที่ราคานี้แหละครับ ผมจะพยายามเต็มที่ แต่ที่ผมคิดไว้ว่าจะช่วยประชาชนคืการติดตั้งโซลาร์ รูฟ เพื่อให้ประชาชนหลุดปัญหาเรื่องค่าไฟ อันนี้เราพูดถึงประชาชนทั่วไป ชาวบ้าน ถ้าสามารถติดตั้งโซลาร์ รูฟ ได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว และราคาที่ประหยัดขึ้น มันก็เท่ากับไม่ต้องจ่ายค่าไฟ เพราะเราผลิตไฟฟ้าในบ้าน สำนักงาน จากแสงแดด ตรงนี้สิ่งที่เป็นปัญหาหลักคือต้นทุนในการทำ กระทรวงพลังงานผมกำลังดำเนินการ ก็กำลังได้ต้นแบบมาแล้วในระบบโซลาร์ รูฟ ไว้ใช้เองนะครับ ไม่ได้เอาไปขาย อันนี้ประหยัดมาก ชุดนึงมีแบตเตอรี่ด้วย ประมาณ 3 หมื่นบาท ผมผลิตต้นแบบเสร็จแล้ว กำลังทดสอบต่างๆเพิ่มเติม ถ้าเรียบร้อยตรงนี้ก็จะไปจดสิทธิบัตร ฯลฯ

          ซึ่งในรายการ คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ยังกล่าวอีกว่า “ที่ผมได้รับการร้องเรียนมา ตอนนี้ผมประสานกับทาง กกพ. ขอพักหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ให้ประชาชนใช้ไฟต่อ บวก ต่อไปจะไม่ได้ เพราะผมถือว่าเป็นการค้าไฟ ถ้าเอาไฟผมที่ผมคิด 4 บาท 18 สตางค์ คุณไปคิด 7-10 บาท เท่ากับว่าคุณเอาไฟผมไปขาย ไม่ใช่เสียภาษีอย่างเดียว ต้องขออนุญาต และต้องกำกับดูแลด้วยว่าควรจะเป็นราคาเท่าไรถึงจะเหมาะสม ค่าไฟเอาไปค้าขายแบบนี้ไม่ได้ถูกไหม อันนี้ได้รับการร้องเรียนมาครับ”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *