เอกรัตน์ วงษ์จริต: “การเล่าประวัติศาสตร์ผ่านตุ๊กตา”

“คุณเอกรัตน์ วงษ์จริต” (Eggarat Wongcharit) นักออกแบบและศิลปิน รวมถึงนักสะสมด้วย ได้นำตุ๊กตาเก่าแก่บางส่วนจากทั้งหมด 400 กว่าตัว ซึ่งเขาได้ซื้อที่ Flea Market ระหว่างได้ศึกษาอยู่ที่ New York สหรัฐอเมริกาและ Italy มาจัดแสดงโชว์และจำหน่ายด้วยในงาน “Urban Collectibles 2024 by Mango Art Festival” ณ ห้อง The Ugly Dolls ชั้น 2 โรงแรม Public House สุขุมวิท 31 ร่วมกับคุณชูเกียรติ ลิขิตปัญญารัตน์ (Chookiat Likitpunyarut) ตั้งแต่วันที่ 2 – 4 สิงหาคม 2567

“คุณเอกรัตน์” เล่าว่า “ตุ๊กตามาเป็นชิ้นส่วน ส่วนขา ส่วนลำตัว เนื่องจาก 100 กว่าปีแล้ว ตั้่งแต่ 1850 ผมมีความสุขในการที่ได้ซ่อมมันให้กลายมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ผมต้องซ่อมทุกตัว เพราะว่ามันมาแบบตาหลุดบ้าง เหมือนผี มันเหมือนกับว่าเรารื้อ รักษามัน ของเก่าทุกอย่าง เซรามิคแตกผมก็ซ่อม เราได้เรียนรู้วัสดุสมัยก่อนด้วย ตุ๊กตาส่วนใหญ่มาจากประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปนและเยอรมัน ตุ๊กตาฝรั่งเศสขนคิ้วดกและได้พัฒนาขึ้นมาเดินได้ มีกลไก ตุ๊กตาเยอรมันเป็นของบริษัทยิว และตอนหลังคนที่เป็นเจ้าของบริษัทตายไปหลายคนโดนเยอรมันกวาดล้าง ฝรั่งเศสเลิกผลิตไป กลายเป็นตุ๊กตาสมัยใหม่ ฉะนั้นพวกนี้ก็จะกลายเป็นของ Collectible ที่หายาก และคนในยุโรปที่เป็นนักเล่นจริงๆ จะสะสม และเป็นอย่างผมที่จะหาส่วนต่างๆ มาประกอบสร้างให้มันสมบูรณ์เหมือนอย่างเก่า

“ถึงแม้เป็นชิ้นส่วน ราคาก็แพงครับ อย่างหัวประมาณ 2-30,000 บาท หรือ Body ของจูโม (Jumeau) ตุ๊กตาฝรั่งเศส แพงมาก Body 4-50,000 บาท แล้วแต่รุ่น ถ้าเป็นตัวเต็มก็เป็นแสน ถ้าตัวที่ไม่เคยเสีย ไม่เคยพัง ยิ่งแพงขึ้นไปอีก 2-300,000 บาท แล้วแต่เขาจะขาย สืบราคาได้ที่ e-Bay จะเป็นราคาที่มาตรฐาน

“ตัวที่เก่าสุดอยู่ที่บ้าน ประมาณ 200 ปี เป็นตุ๊กตาขี้ผึ้งเก่ามากอยู่ในโหลขวดแก้วดูจากการแต่งกาย ตุ๊กตาตัวหนึ่งที่ได้มาเพราะมีจดหมายจากทาสคนหนึ่งในอเมริกาสมัย 1820 ยังไม่เลิกทาส เขียนจดหมายให้กับเจ้านายที่เป็นเด็กที่ตัวเองเลี้ยงมา อ่านแล้วสะเทือนใจมาก เพราะว่าเขาเก็บเงินที่เขาก็ไม่ค่อยมี เขารักลูกเจ้านายเหมือนลูก อันนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับผม เป็น Story ทีมีคุณค่า ตุ๊กตาเป็น Paper Mache เป็นตุ๊กตาวัสดุที่ถูกที่สุด เอาขี้เลื่อยผสมกับกาวเรซินธรรมชาติ มากดลงบนพิมพ์เป็นก้อนแล้วเคลือบขี้ผึ้ง เป็นตุ๊กตาเด็กมาพร้อมเตียงพร้อมจดหมายสอดอยู่ในเตียง ได้มาประมาณ 8-9,000 บาท ตอนนี้มันก็คงขึ้นแล้วละ เพราะว่ามูลค่าอยู่ที่จดหมาย”

“คุณเอกรัตน์” เล่าว่าเขาเคยนำตุ๊กตามาจัดที่ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้วและได้รับความสนใจมากทั้งคนไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเป็น Collection ที่ใหญ่มาก ตอนนั้นไม่ได้ขายเพราะยังอยากสะสมอยู่ ก่อนหน้านี้เขาเคนมีไอเดียที่จะทำมิวเซียมเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป

“ก็เสียดายแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ผมเองไม่มีลูก ไม่รู้จะให้ใคร เดี๋ยวนี้คนก็ไม่ได้สนใจ ผมอยากจะทำมิวเซียมหวังว่าจะให้ความรู้กับเด็กเพราะว่าผมเขียนเว็บเพจขึ้นมาเป็นเกี่ยวกับเรื่องของ Story ที่มัน อย่างเช่นสมมุตติว่า มันมีตุ๊กตามิตรภาพที่ตอนนั้นญี่ปุ่นมีสงครามกับอเมริกาและก็มีการเหยียดผิวกัน ญี่ปุ่นเอาตุ๊กตาไปสัมพันธไมตรีกับทางรัฐบาลอเมริกัน เป็นตัวเท่าเด็กจริง และทางอเมริกาก็แลกตุ๊กตามาให้ Story แบบนี้ มันทรงคุณค่า การทำมิวเซียมจริงๆ มันต้องใช้เงินมหาศาล อยากหานายทุน เราไม่สามารถเอาไปทำมิวเซียมได้จริงๆ อย่างที่ฝัน มีใครอยากจะ Offer ที่ให้ ผมเป็น Director ให้ และมีทุนสนับสนุนให้ ผมว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ มิวเซียมของคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ ก็มีคนสนใจไปดูเยอะ แต่ว่าที่จะให้อยู่ได้ด้วยตัวเองก็อาจจะลำบากหน่อย แต่ว่ามันจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กมาก เพราะว่ามันไม่ใช่ตุ๊กตา เป็นการเล่าประวัติศาสตร์ผ่านตุ๊กตา เพราะตุ๊กตาเป็นตัวแทนของคน ผมต้องการทำอย่างนั้นมากกว่า เกร็ดประวัติศาสตร์ ว่าของเรื่องเยอรมัน การเหยียดสีผิว ทำใมตุ๊กตาสีดำไม่เป็นที่นิยม”

Urban Collectibles by MAF เป็นคอมมูนิตี้ของคนเมืองสายอาร์ทได้ออกมาโชว์ของ เชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนไอเดียเจ๋งๆกัน ตั้งแต่งาน prints, งานเพ้นท์, อาร์ตทอย, งานปั้น, ผลงาน Limited Edition และอื่นๆอีกมากมาย และเป็นครั้งแรกของไอริชวิสกี้ Jameson ที่ได้มาสนับสนุนงานศิลปะ

จูเนียร์ สุขพัฒน์ วะเชร์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ Pernod Ricard Thailand พูดว่า “วันนี้มาในนาม Jameson Connects ที่อยากจะ Connect กับ Communities ต่างๆ โดยปีนี้เราต้องการที่จะ Initiate การ Collab การเปิด Community กับ art community เป็นครั้งแรก และครั้งที่สอง คือ การเปิด Pearl Art Space ก็หวังว่าปีนี้จะออกมาเรื่อยๆ

“ผมมองว่า Modern Art หรือ Pop Art หรือ Contemporary Art มันไปได้กับแบรนด์เรา Jameson Connects เป็นแบรนด์ที่เราเอาออกมาเพื่อคนรุ่นใหม่ Motto ของ Jameson ที่เรียกว่า Sine Metu แปลว่า Fearless Live More ใช้ชีวิตให้เกรงกลัวน้อยลง ใช้ชีวิตให้มากขึ้น ผมมองว่ามันคือความคนสมัยใหม่ที่เขาพร้อมที่จะออกไปสร้างตัวเอง ไม่ได้มีความเกรงกลัว Modern Art กับแบรนด์ของ Jameson มันมีอะไรบางอย่างที่ Connect กันได้ มันเป็นหนึ่งใน Community หลายๆ ที่เขาก็เปิดกัน อย่างปีก่อน ผมรู้สึกว่าที่นี่ได้ใช้แบรนด์อื่นแต่ปีนี้เขามองมาที่เรา ผมก็เลยมองว่า ก็เป็นกลุ่มคนน่าจะเข้าไป Explore ด้วย มันคือการ Recruit คนให้เข้าถึง Jameson มากขึ้น อย่างผมมางานอาร์ตนี้ ผมต้องการให้ Artists รู้ว่า Jameson พร้อมที่จะ Support เขา พร้อมที่จะ Support งานอาร์ตของเขา พร้อมที่จะ Support ความ Creative ของเขา”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *