Headlines

Fortune จัดอันดับ Southeast Asia 500

Fortune บริษัทสื่อหลายแพลตฟอร์มระดับโลกที่สร้างขึ้นจากการรายงานข้อมูลที่เชื่อถือได้และได้รับรางวัลสำหรับผู้ที่ต้องการทำให้ธุรกิจดีขึ้นโดยมีการดำเนินกิจการอย่างอิสระ ได้จัดอันดับ Southeast Asia 500 ปี 2567 เป็นครั้งแรก กับรายชื่อของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามรายได้ปีงบประมาณ 2566 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบทบาทสำคัญยิ่งในเศรษฐกิจโลก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในภูมิภาค

Clay Chandler บรรณาธิการบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “การจัดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 สะท้อนให้เห็นถึงภูมิภาคที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลักเติบโตเร็วกว่าภูมิภาคยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่ติดอันดับ Global 500 หลายแห่งได้ย้ายห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น”

การจัดอันดับครั้งแรกนี้ประกอบไปด้วย 7 บริษัทจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยอินโดนีเซียครองอันดับหนึ่งด้วยรายชื่อบริษัทติดอันดับสูงสุดถึง 110 บริษัท ประเทศไทยตามมาด้วย 107 บริษัท มาเลเซีย 89 บริษัทแซงหน้าสิงคโปร์ที่มี 84 บริษัท เวียดนามที่ติดอันดับ 70 บริษัท ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 38 บริษัท และกัมพูชาที่ 2 บริษัท ในด้านรายได้ บริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ Trafigura ของประเทศสิงคโปร์ครองอันดับที่ 1 ด้วยยอดขาย 244 พันล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายแร่ธาตุ โลหะ และพลังงาน โดยมีจำนวนพนักงานน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทชั้นนำ 10 อันดับแรก

บริษัท 10 อันดับแรก 500 เป็นกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลาย โดยภาคพลังงานมี 3 บริษัทที่ติดอันดับสูงสุด ได้แก่ปตท.(PTT) ของไทยเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 2 Pertamina ของอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 3 และบริษัทไฟฟ้าภาครัฐของอินโดนีเซีย Perusahaan Listrik Negara อยู่ในอันดับที่ 6 ประเด็นที่น่าสนใจคือสิงคโปร์มีจำนวนบริษัทที่ติดอันดับมากที่สุด โดยมี Trafigura อยู่อันดับแรก ตามมาด้วย Wilmar ที่อันดับ 4 Olam ที่อันดับ 5 Flex ที่อันดับ 8 และ DBS ที่อันดับ 10 นอกจากนี้ ในสิบอันดับแรกยังมี CP All ของไทยอยู่ที่อันดับ 7 และ San Miguel ของฟิลิปปินส์ที่อันดับ 9 อีกสามบริษัทจากไทยที่ติดอันดับ 20 บริษัททำรายได้สูงสุดได้แก่: อินโดรามา เวนเจอร์ส (Indorama Ventures) อยู่ที่อันดับ 14ปูนซิเมนต์ไทย (Siam Cement) อยู่ที่อันดับ 16และ ซีพี แอ็กซ์ตร้า (CP Axtra) อยู่ที่อันดับ 19

บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกได้รับรายงานว่ามีรายได้ถึง 6.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของรายได้รวมในงบประมาณปี 2566 จากบริษัททั้งหมดใน Southeast Asia 500 ซึ่งมีรายได้ทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการมีรายชื่ออยู่ใน Southeast Asia 500 คือ 460.8 ล้านดอลลาร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *