กรกฤต ศิลปะจัดวางสื่อผสม “Nostalgia for Unity”

เพียงก้าวแรกที่เข้าไปในตัวอาคาร บางกอก คุนสตาเล่อ (Bangkok Kunsthalle) อาร์ตสเปซแห่งใหม่ย่านเยาวราช ซอยนานา ซึ่งเคยเป็นโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชที่มีอายุกว่า 60 ปี ได้สัมผัสของบรรยากาศที่เงียบสงบ ก่อนที่จะนำพาไปสู่ห้องชั้นสองที่เต็มไปด้วยเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบทสวดหรืออากัปกิริยาต่างๆ ของผู้คน รวมถึงข้อความตัวนูนจากพระคัมภีร์ Bible บนพื้นที่ถูกทำขึ้นมาใหม่สีดำกับรอยแตกแยกไปทั่ว ให้ความวิเวกมากขึ้นกับการเล่นไฟสลัวๆ นั่นคือนิทรรศการที่มีชื่อว่า “Nostalgia for Unity” ของคุณกรกฤต อรุณานนท์ชัย ศิลปินร่วมสมัยชาวไทยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ

“(Nostalgia for Unity) การกำหนดคิดถึงความสามัคคีในอดีต เป็นศิลปะจัดวางสื่อผสมหรือว่า Installation,” คุณกรกฤต ให้คำจำกัดความ “ตอนที่คุณมาริสาและสเตฟาโนมาคุยเรื่องงานและให้มาดูตึกนี้ แล้วเราก็คุยเรื่องธรรมชาติ เรื่อง Renewal และสิ่งที่คุณมาริสาพูดถึง Circle of Life บางทีผมอาจจะคิดว่ามันเป็นทั้ง Circle และก็เป็น Spiral ในงานก็ใช้ไฟเป็น metal source หรือ material หรือ process พอมาเจอตึกนี้มันอยู่ในงานผมแล้ว ประกอบกับผมนึกถึงธรรมชาติ คือในงานของผม ส่วนใหญ่ผมทดลองสิ่งที่เรียกว่า Animism หรือวิญญาณนิยม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราคุ้นชินกันอยู่และก็อีกสิ่งหนึ่งเป็น Science Fiction ผมสนใจสองสิ่งนี้ก็คือ มันมีทั้ง Potential, Desire และ Fear ทั้งกลัว ทั้งอยากได้มัน มันคือจินตนาการ เสร็จแล้วก็ได้มองตอนเด็กที่ได้ไปธรรมชาติ เจอภูเขาเรียกว่าเจ้าลาย เคยเป็นยักษ์ที่เสียใจ ล้มลงรอคอยแฟนที่เป็นคนไม่กลับมา ผมก็เลยมองตึกเป็นยักษ์ เป็นร่างกายของยักษ์ที่ล้มลงและก็ย่อยสลายไปในธรรมชาติในเมืองๆ นี้ เหมือนกับว่า ห้องที่คุณกำลังจะเห็น ผมคิดว่าทั้งตึกคืองาน แต่ห้องที่เราสร้างงาน Installation มันเหมือนกับหัวใจของยักษ์ ก็คือเราจะทำอย่างไรกับสิ่งที่เรียกว่า Care ในการเป็นศิลปิน ทำอย่างไรให้หัวใจมันเต้นขึ้นมาอีกที

“ผมคิดว่าในโลกปัจจุบัน ในกรุงเทพ มันมีแต่คนเอา Image มาให้เราดูมี Social Media มีโฆษณา มีเสียง มีแต่คนบอกว่า เราต้องทำอย่างไร เราต้องคิดยังไง เป็น Layer, Layer จากการเป็นศิลปิน ผมเอาภาพให้คุณ เอาหนังให้คุณดู มันก็เป็น Image ผมก็เลยคิดว่าสิ่งที่ผมอยากให้เป็นของขวัญ ก็คือเป็น Negative Space ก็คือความว่างเปล่า เพราะฉะนั้นงานชิ้นนี้ก็คือเป็นเหมือนกับเป็น สร้างขึ้นมาเหมือนกับหนังเรื่องหนึ่ง ที่ตึกนี้เกี่ยวกับยักษ์ เกี่ยวกับ Phoenix คือไอเดียตำนานของนกฟีนิกซ์ มันไม่มีวันตาย มันเหมือนกับผีที่พอมันไหม้ไปอยู่ในเถ้าถ่านบนพื้น และสักพักเถ้าถ่านนี้ก็จะลอยขึ้นมาสู่ท้องฟ้า พอหมดพลังงานก็กลับมาสู่ลงพื้น เหมือนนกฟินิกซ์ก็คือ เป็นทั้งวัฎจักรของธรรมชาติ วัฎจักรของความคิด วัฎจักรของคน

“ตอนที่เขาซ่อมตึก เขาก็ดึงเอาส่วนต่างๆ ที่เป็นไม้โครงสร้างลงมา ผมก็เอาโครงสร้างนี้มาบดให้เป็นผงและก็ผสมกับสีทาบ้าน มันก็จะกลายเป็นพื้นในห้องงาน มันอาจจะ Connect กับสิ่งที่พวกเรา พอเราตาย เราก็กลายเป็นพื้นให้คนยุคต่อไป เรากลายเป็นพลังงาน หรือ ดิน พื้นนั้นคล้ายๆ กับเวที และบนพื้นนี้ก็จะมีตัวอักษร คืออยากจะให้รู้สึกเหมือนกับเดินจงกลม เดินอ่านตัวอักษรก็คือเป็นบทสวดและก็เป็นบทหนัง และคุณก็จะได้ยินเสียง เสียงนี้คือใช้จำนวนคน Collaborators พวกเราทุกคนตัดสินใจ สิ่งที่ดีที่สุดคือเวลาเราใช้ Spiritual Vanity ความเชื่อ มันคือการเอาพลังงาน ความคิด การขอพร ไปใส่ ความเชื่อไม่มีร่างกาย เวลาเราขอมันไป ส่วนใหญ่เราไม่ได้คำตอบกลับมา เพราะฉะนั้นทุกคนที่ทำงานนี้ ผมก็รู้สึกว่าเราเอาแรงหรืออะไรไปใส่ ท้ายสุดแล้วคุณเข้าไป คุณเกือบไม่เห็นอะไรเลย ผมอยากให้งานชิ้นนี้เป็นเวทีให้คุณเข้าไป คุณเอาภาพเหล่านั้นในหัวคุณไปใส่ ก็คือหนังที่ไม่มีรูป เพราะท้ายที่สุดแล้วเหมือนกับแบบ คือเราอาจจะอยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน ท้ายที่สุดแล้ว Spiritual Vanity ความเชื่อที่แท้จริง มันอยู่ที่ตัวคุณเอง เราเกิดคนเดียวและตายคนเดียว แต่สิ่งที่อยู่ในหัวเราที่มันเป็นตัวเรา ความเชื่อของเราไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้”

คุณกรกฤต บอกว่า ข้อความบนพื้นนูนสีดำได้ถูกนำมางาน Video Art ของเขาที่ทำมา 12 ปี มีทั้งคำ Ashes to Ashes จาก Bible และอื่นๆ จากหนังสือที่เขาอ่าน อาทิเช่น “Nostalgia for Unity” และ “Sun of Consciousness”

คุณกรกฤต เสริมว่า “เขียนเองบ้าง เอามาแต่งใหม่บ้าง มันก็คือไอเดียคล้ายๆ ตัวอักษรที่เขียนกับเสียงคนที่ร้อง เสียงของร่างกายที่ขยับในพื้นที่ มันจะสร้างมาจากหลายๆ คน หลายๆ วัฒนธรรม”

ในข้อความมีข้อความที่เกี่ยวกับ “Song” ค่อนข้างเยอะด้วย คุณกรกฤต เล่าว่า “ผมทำการ research เรื่องของร่างทรงในต่างประเทศ ผมเป็นคนจัดงาน Art Festival ในเมืองไทยชื่อ “Ghost” และในนี้คือเรามองไอเดียของ Time-Based Media และก็เรื่องของเวลา เหมือนกับเราเวลาดูหนังหรือฟังเพลง สิ่งที่เรียกว่าเวลาคือร่างกายของคน เข้าไปเหมือนพิธีกรรม การที่หลายๆคนเอาเวลาไปอยู่ในพื้นที่เดียวกันและเอาใจไปใส่ในอะไรบางอย่าง มันทำให้เกิดเวลาเหมือนกับวิญญานจริงๆ ที่นี้ก็เลยมองว่า Spirit Medium เวลาคุณดูศิลปะ Medium วิดีโอ Medium Painting มันเป็นสิ่งเดียวกัน”

นิทรรศการ “Nostalgia for Unity” เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 – 20.00 น.

ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/BangkokKunsthalle, https://www.instagram.com/bangkok_kunsthalle/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *