“สุวรรณภูมิ” อารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ “ธัชชา” เปิดตัวละครสั้นกึ่งสารคดีเรื่อง “สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ” ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับรากฐานสำคัญของการเกิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอารยธรรมมายาวนานกว่า 2500 ปี ด้วยความมุ่งมั่นของปราชญ์คนสำคัญของประเทศไทย นักวิชาการ หลากหลายสาขา ร่วมกันทำงานข้ามศาสตร์ ค้นหาหลักฐาน สรุป และยืนยันถึงที่มาที่ไป รวมถึงคุณค่าของอารยธรรมที่เคยถูกลืมเลือนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งและเหนืออื่นใดคือ แนวพระราชดำริของ “ล้นเกล้ารัชกาลที่ 9”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ หัวหน้าโครงการวิจัย ระบุว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุวรรณภูมิ ซึ่งถือเป็นรากฐานทางอารยธรรมของเราที่เก่าแก่กว่า 2500 ปี เพื่อชี้ให้เห็นว่าเรามีซอฟท์พาวเวอร์ ซึ่งในภาพยนตร์สารคดีเรียกว่า ‘คุณค่า 5 มิติ’ เรามีอยู่มากและนานเพียงใด เพียงแต่ต้องกลับไปค้นคว้าและศึกษาสิ่งที่มีอยู่นั้นมาใช้ประโยชน์ให้มากกว่าเดิม ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีลงไป หรือบุคคลทั่วไปที่ชื่นชอบสารคดีเชิงประวัติศาสตร์อารยธรรม เราคาดหวังว่าจะเกิดคำถามที่เกี่ยวข้องกับดินแดนสุวรรณภูมิ การถกเถียงโต้แย้งในเชิงสร้างสรรค์ ทั้งในด้านวิชาการ และสามารถเผยแพร่องค์ความรู้นี้รวมถึงด้านวัฒนธรรมของประเทศต่อไป”

“ดินแดนสุวรรณภูมิ” ประกอบไปด้วย 5 ตอน ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.30-11.00 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 2 มิถุนายน 2567 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9MCOT ติดตามได้ทาง Facebook: Suvarnabhumi_HUB2

“ในอนาคตเราวางแผนว่าจะมีโปรเจ็กต์ภาพยนต์มินิซีรีย์แนวผจญภัย และแนวครอบครัวออกมาเพิ่มเติม รวมถึงได้วางแผนการนำแนวคิดเรื่องสุวรรณภูมิไปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์และศิลปะสาขาอื่นๆ เช่น ละคร นาฏกรรม มังงะ หรืออนิเมชัน เป็นต้น” ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ ขยายความ

“ธัชชา” เป็นการขับเคลื่อนทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ครั้งสำคัญของประเทศ โดยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ ด้วยสหวิทยาการ จึงดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศศ โดยมี “ธัชชา” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัย อันนำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์างเศรษฐกิจและสังคมของชาติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *