งานประติมากรรมกับการตีความพุทธศาสนาแบบใหม่

“Vanishing Point” นิทรรศการรวบรวมผลงานประติมากรรมของศิลปินไทย “ซิน ไชยกุล” และ “วรสิทธิ์ ขี้เหล็กสี” ที่ตีความแบบใหม่เกี่ยวกับศีลของชาวพุทธ โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติหรือรีไซเคิล ความเรียบง่ายของรูปทรงและวัสดุทำให้ผู้ชมระลึกถึงแก่นแท้และเตือนใจถึงสถานที่อันเรียบง่ายที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ณ สมาคมฝรั่งเศส เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 12 สิงหาคม – 30 กันยายน 2566

งานศิลปะซิน ไชยกุล ได้รับแรงบันดาลใจพุทธสุภาษิต โดยเฉพาะเรื่องความไม่เที่ยงอันเป็นศูนย์กลางของการสร้างสรรค์ผลงานของเธอไม่ว่าจะเป็นถึงไม้สักที่ใช้เวลานับเดือนในการแกะสลัก หรือจะเป็นเพียงผักผลไม้ธรรมดาที่มีการสลักพุทธวจนะ ความหมายของงานแต่ละชิ้นถึงกาลเวลานั้นช่างมีความลึกซึ้งงานประติมากรรมของเธอทำให้ผู้ชมตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต เพื่อสำนึกถึงความสำคัญของเวลาทุกวินาที งานนิทรรศการครั้งนี้จะมีการจัดแสดงผักผลไม้สลักชุดใหม่และผลงานชิ้นเอก “Beginner’s Mind” (“จิตใจของผู้เริ่มต้น”) ประกอบไปด้วยไม้สักแกะสลักกว่า 16 ชิ้น

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

งานของวรสิทธิ์เป็นงานที่มีลักษณะเรียบง่าย เช่นการใช้วัตถุดิบรีไซเคิล หรือการสร้างเครื่องปั้นดินเผาจากวัตถุดิบธรรมชาติ เทคนิคการสร้างผลงานศิลปะอันเรียบง่ายของเขาทำให้เรานึกถึงงานศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาของคนพื้นบ้านในยุคโบราณเทคนิคการปั้นเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมของเขา ทำให้เขาสามารถรวมขั้นตอนการปั้นเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะของเขาได้ดินเหนียวที่มีสภาพอ่อนนุ่มยามเปียกชุ่ม และแข็งกร้าวยามแห้งและถูกเผา สรุปเรื่องธาตุทั้ง 4 และสาระสำคัญของแก่นพุทธศาสนาได้อย่างเข้าใจง่ายและลึกซึ้ง ครั้งนี้วรสิทธิ์จะจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาชุดใหม่ของเขาและพระพุทธรูปซึ่งถูกสร้างจากวัตถุดิบรีไซเคิล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *