“มหาวิทยาลัยสู่ตำบล” พัฒนาสินค้าต่อเนื่องและยั่งยืน

“มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” สามารถเพิ่มขีดความสามารถของผู้ผลิตสินค้าในทุกตำบล ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคตลอด 2 ปี หลังจากขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Science Park, คลินิกเทคโนโลยี, ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator (UBI)

นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว. กล่าวว่า “กระทรวง อว. ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและมหาวิทยาลัยในสังกัดทั่วประเทศกว่า150 แห่งเป็นกลไกในการเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ เพื่อให้เข้าถึงและรับรู้ความต้องการของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ร่วมพัฒนา ร่วมกันแก้ปัญหาให้ถูกจุด ยกตัวอย่างภาคอีสานที่มีปัญหาความแห้งแล้ง ทางอว. จะประสานมหาวิทยาลัยในจังหวัดเพื่อลงไปดูแลและหาสาเหตุรวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาหนทางแก้ไข หรือหากชุมชนมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ก็จะประสานกับกระทรวงสาธารณะสุข ดูว่าความต้องการของประชาชนในพื้นที่คืออะไร เพราะฉะนั้นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของโครงการ U2T คือต้องตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของชุมชนท้องถิ่น พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความยั่งยืน

“การที่มีบัณฑิตเป็นตัวเชื่อมโยงกับ 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ นับว่าเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้สินค้าภายใต้โครงการ U2T มีความหลากหลาย สามารถดึงเอาเอกลักษณ์พื้นถิ่นมาเป็นจุดขายสร้างมูลค่า อาทิ สินค้าทางภาคอีสานจะเน้นเรื่องของการแปรรูปอาหาร และ ผ้าทอ เช่น จ.บุรีรัมย์มีการผลิตผ้าไหมยกดอก ก็จะมีการพัฒนาลวดลายใหม่ๆ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น จ.อุดรธานีมีการนำบัวแดงเอกลักษณ์ของจังหวัดมาแปรรูปสินค้าได้หลากหลายศรีสะเกษ สุรินทร์ ก็มีความโดดเด่นเรื่องผ้าทอพื้นเมือง ซึ่งได้นำเอาองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยมาใช้ในการออกแบบลวดลาย พัฒนาคุณภาพของเส้นใยเพื่อผลิตเป็นกระเป๋า หรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ภาคใต้เน้นในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวสีเขียวทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเที่ยวภาคใต้ได้มากขึ้นเป็นต้น

“ตลอด 2 ปีที่อว. มุ่งมั่นดำเนินโครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2Tfor BCG สามารถสร้างผลิตภัณฑ์/บริการได้มากกว่า 15,000 ผลิตภัณฑ์ที่ยังต้องพัฒนาอีกอย่างต่อเนื่องและพร้อมจำหน่ายเพียง 1 ใน 3 หรือราว 5,000 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบรรจุภัณฑ์ การขึ้นทะเบียน อย. หรือยกระดับมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง การขยายสู่การผลิต เพื่อให้สินค้าสามารถวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า หรือส่งออกไปต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อว. พยายามผลักดันโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *