“Diverse Visions” (วิสัยทัศน์ที่หลากหลาย) นิทรรศการกลุ่มโดย 10 ศิลปินชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงค์โปร มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา และ ไทย เพื่อโชว์เอกลักษณ์และความหลากหลายทางศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ ตั้งแต่งานศิลปะ 2 มิติไปจนถึง 3 มิติผ่านรูปแบบและมุมมองที่หลากหลาย รวมถึงผลงานสร้างสรรค์ของศิลปินที่มีความสามารถเพื่อทําความเข้าใจบริบททางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ณ ที่ที่ผลงานของพวกเขาเกิดขึ้น จัดขึ้นที่ ริชาร์ด โคห์ ไฟน์ อาร์ต แกลเลอรี่ Blk47 กิลแมน บาร์แร็กส์ (Gillman Barracks) ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 22 เมษายน 2566
ศิลปินชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้คือ
“ฟุก เทียน ฮวาง” (Phuc Thien Hoang) ประเทศเวียดนาม จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์โฮจิมินห์ซิตี้ ในปี 2563 ด้านจิตรกรรม ฟุกได้จัดนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในชื่อ Phuc: Cut, Draw, Paste, Place ที่ Mo Artspace ฮานอย (2563) เขายังได้รับรางวัลในฐานะจิตรกรในงาน Saigon Youth Art Biennale 2562
“เปน โรบิท” (Pen Robit) อาศัยและทํางานในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา งานของเขาพยายามสื่อถึงเรื่องราวของสังคมการเมือง ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตของกัมพูชา ภาพของเขาได้รับอิทธิพลจากสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของบ้านเกิดเช่นเดียวกับวาทกรรมทางสังคมที่มีอย่างต่อเนื่อง
“พชร ปิยะทรงสุทธิ์” (Pachara Piyasongsoot ) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์บัณฑิต (Graphic Arts) จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาสนใจบริบททางการเมืองและสังคมในประเทศไทย ภาพวาดของเขามักจะถูกสร้างจากสถานที่ ผู้คน และการเล่าเรื่องจากสถานที่จริงโดยใช้ภาพถ่ายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่สําคัญสําหรับการพัฒนางานศิลปะ
“ไอเฟล ชุง” (Eiffel Chong) มาเลเซีย สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาศิลปะร่วมสมัยนานาชาติและการปฏิบัติการออกแบบจาก University of East London และปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาการถ่ายภาพจาก London College of Printing เขาเป็นช่างภาพมือรางวัลที่จัดแสดงผลงานในนิทรรศการทั้งที่มาเลเซียและทั่วโลก ผลงานของเขาสามารถดูได้เพิ่มเติมที่ http://www.eiffelchong.com
ผลงานของ “ฮาฟเฟนดี้ อันวาร์” (Haffendi Anuar) มุ่งไปที่ Kain Pelikat (คล้ายกับโสร่ง) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของ ‘กระโปรงผู้ชาย’ ลายสก๊อตที่มีสีสันเป็นเอกลักษณ์มักถูกจะสวมใส่ภายในประเทศและบางครั้งก็เป็นเครื่องแบบของแรงงานนอกระบบในบางส่วนของประเทศที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร งานของเขาใช้ผ้าเหล่านี้เป็นตัวห่อหุ้มความทรงจำในวัยเด็กเอาไว้ เขาวิจัยและสำรวจเรื่องสัญลักษณ์ของเสื้อผ้านี้ ผ่านทั้งภาพถ่ายส่วนตัวของครอบครัว ภาพถ่ายจากคลังภาพ ภาพจากในโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ตรวมถึงงานเขียนในมาเลเซียที่เขียนโดยนักเขียนจากเจ้าอาณานิคม เพื่อศึกษาที่มาที่ไปของผ้าการใช้ประโยชน์ทางสังคม รูปแบบและโครงสร้างที่เป็นทางการ เขาจะใช้วัสดุที่รวบรวมขึ้นมา จินตนาการใหม่ว่าผ้าเป็น ‘สิ่งก่อสร้าง’โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เปลญวนเปลแขวนมุ้งผ้าม่าน ผ้าคลุมหน้าและใยแมงมุม นำมาวาดโดยใช้แรงบันดาลใจจากงานสถาปัตยกรรม ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและสัตว์สร้างขึ้นตามธรรมชาติ เขาทํางานในกระบวนการที่รวมภาพตัดปะ, ย้อมสี, ภาพวาด, การถ่ายโอนภาพและการตัดเย็บรวมถึงวัสดุทางกายภาพเช่นเปลือกหอย, ก้อนกรวด, ท่อน้ำ, ท่อทองเหลือง, กระสอบข้าวและขนไก่ลงในผลงานประติมากรรมของเขาประดับประดาเพื่อให้งานศิลปะดูมีชีวิตชีวา
“ฮาซานุล อิซราฟ ไอดริส” (Hasanul Isyraf Idris) ได้รับการฝึกฝนที่ Mara University of Technology (UiTM) รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในปีนัง ผลงานของเขาสื่อออกมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพเขียน ภาพวาด งานอินสตอลเลชั่น งานวิดีโอและประติมากรรม ผลงานของเขามักจะแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของเรื่องเหนือจริง กับเรื่องที่แต่งขึ้นมา นำมาผลิตงานในรูปแบบของตัวเอง ซึ่งอ้างอิงอยู่กับวัฒนธรรมป๊อปเช่นหนังสือการ์ตูนนิยายวิทยาศาสตร์สตรีทอาร์ตและภาพยนตร์ เขาแสดงให้เห็นถึงการดิ้นรนของเขาในฐานะศิลปินที่มีตัวละครและสิ่งมีชีวิตแปลก ๆ ที่อาศัยอยู่ในจักรวาลที่ประดิษฐ์ขึ้นของเขา
“หมิงจือ หลิง” (Mengju Lin) มักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์และวิธีที่สิ่งเหล่านั้นประท้วงออกมา เธอทํางานกับวัสดุที่พบได้ทั่วไป เพื่อสร้างภาพ เสียง วัตถุ ข้อความ และไซน์ (งานพิมพ์ขนาดเล็ก) เธอเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ช่อง radioriotgrrrl กับ Nadhirah Khalid และเล่นอยู่ในวงดนตรีชื่อ Terrapin กับ Jeremy Sharma และ Lai Yu Tong
“ซามูเอล ซุน” (Samuel Xun) ศิลปินพหุศาสตร์ผู้อาศัยอยู่ที่สิงคโปร์ จบการศึกษาจาก LASALLECollegeoftheArts ผลงานของเขาพูดถึงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและตัวตน บ่อยครั้งที่แก่นของผลงานสื่อถึงอารมณ์ การรับรู้ และความสุนทรีย์ โดยใช้งานประติมากรรม ศิลปะจัดวาง ศิลปะสิ่งทอ ภาพยนตร์ วัฒนธรรม และงานเขียนเล่าเรื่องส่วนบุคคลงานชิ้นเอกของซุน อ้างอิงถึงอำนาจกรอบความคิดของตัวตนกลุ่มเควียร์ ด้วยวาทกรรมระดับชาติ และในภาพใหญ่ระดับโลก มองผ่านเลนส์ของผู้เคยมีประสบการณ์ และ การวิเคราะห์ภาวะจิตใจของตนเอง เอกลักษณ์ของชิ้นงานคือพื้นผิวที่ถูกตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม ผ่านการใช้สี ลวดลาย และข้อความ ที่หมายถึงการถ่ายทอดความเห็นอกเห็นใจไปสู่การบรรยายทางสังคม ท้ายที่สุด ซามูเอลสนใจว่าศิลปะสามารถส่งต่ออารมณ์รุนแรง ความเห็นอกเห็นใจ การมีอยู่ของวัฒนธรรม และดูแลการตอบสนองในสังคมยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างไร
“อีวาน เดวิด อึ้ง” (Ivan David Ng) เป็นศิลปินจากสิงคโปร์ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ด้วยการสร้างสรรค์งานศิลปะในหลายรูปแบบ ผ่านความรู้สึกของจิตรกร เขามีความสนใจในไอเดียเกี่ยวกับที่มาของสิ่งต่าง ๆ ความลับที่ซ่อนอยู่ในสายตาธรรมดา และการริเริ่มสร้างสรรค์ที่มาจากความรู้ เขาได้รับปริญญาตรีสาขาจิตรกรรมจาก Maryland Institute College of Art, Summa Cum Laude และได้จัดแสดงในสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ เขาได้รับรางวัล Gold Award (Established Artist Category) ในงานจิตรกรรมยูโอบีครั้งที่ 39 ในปี 2563 และทํางานในโครงการต่างๆ ร่วมกับ Louis Vuitton, Singapore Land Group และ Christian Liaigre
“ฟารีส นากามุระ” (Faris Nakamura) จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิจิตรศิลป์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จาก LASALLE College of the Arts ที่ร่วมมือกับ Goldsmiths College of London ในปี 2557ด้วยผลงานประติมากรรม งานศิลปะจัดวาง และ ศิลปะจัดวางเฉพาะที่ฟารีสสำรวจวิธีที่ผู้คนเดินทาง และวิธีปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ต่างๆ ความปรารถนาของเขาคืออยากเข้าใจการยึดติดและปล่อยวางระหว่างผู้คนกับพื้นที่ ความสัมพันธ์เหล่านี้จะถูกพัฒนาไปได้อย่าไร และมีผลกระทบอะไรกับพวกเขา