“ทั้งจำ ทั้งปรับ” ของ “เอ๋ วิชชุลดา” กับวัสดุก่อสร้าง

“เอ๋ วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์” ศิลปินผู้ท้าทายกรอบความคิดด้วยการเปลี่ยนเศษวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นงานศิลปะอันทรงคุณค่า ได้นำวัสดุก่อสร้าง (Construction Waste) ประมาณ 17 ชนิด ก่อนหน้านี้ผ้าและพลาสติก มาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะครั้งแรกในนิทรรศการใหม่ชื่อว่า “Adaptation: ทั้งจำ ทั้งปรับ” ณ noble PLAY เพลินจิต ตั้งแต่วันนี้จนกระทั่ง 26 มกราคม 2568

“Construction Waste เป็นอะไรที่ยากมากๆ” “วิชชุลดา” เผย “เราและ Noble มีความคิดร่วมกันคือ Sustainable ไม่ว่าจะเป็นมิติการก่อสร้างและมิติไลฟ์สไตล์ของผลิตภัณฑ์สินค้าอสังหาต่างๆ เรามาต่อยอดกับเรื่องราวศิลปะ เรามองว่าศิลปะเป็นเหมือนตัวกลางในการสื่อสาร เรื่องที่ยากๆ ให้เข้าใจได้ง่ายและเข้าถึงกับทุกๆ คน

“ตอนแรกจากตอนที่เอ๋ไม่ได้ทำ Construction Waste ภาพในหัวเรากืคืออสังหาค่อนข้างขยะเยอะมากเลย แต่พอไปทำจริงๆ ลงหน้างาน เอามาใช้หมดทุกส่วนจริงๆ แล้วการที่ได้วัสดุมาแต่ละครั้ง ไม่ได้มาเป็นเศษนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดมาดูที่งานครั้งนี้ ทุกคนอาจจะแบบ ไหนเหล็ก อ่อเหล็กอยู่ข้างในงัย เอาโครงสร้างของเหล็กที่ทาง Noble มีอยู่แล้ว มันเป็นลักษณะของเส้นยาวๆ เอามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างด้านใน อาจจะถูก Cover ด้วยวัสดุภายนอกบางอย่าง หรือกระเบื้องต่างๆ ที่ได้มา เอ๋ไม่อยากทำลายตัวแผ่นกระเบื้องเหล่านั้น เรามองว่าจบงานเอาไปใช้ต่อยอดได้อีก คือมันมีคุณประโยชน์ทั้งสิ้นเลย

“ความท้าทายอีกอันหนึ่งก็คือ ทุกชิ้นงานมันเป็นความยากตรงที่ว่า เราต้อง Work กับเรื่องของ Balance กับเรื่องของความเป็นหลักของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เสมอ ทุกๆ ครั้งที่เอ๋ทำงาน โดยเฉพาะงานนี้ เราต้องชั่งน้ำหนักชิ้นงาน เราต้องใช้ความเป็นฟิสิกส์เข้ามาเกี่ยวข้องว่าทำอย่างไรให้ต้นไม้ไม่ถล่มลงมา ทำอย่างไรให้ชิ้นงานวางได้ ทำอย่างไรให้ชิ้นงานเคลื่อนเข้ามาในห้องแห่งนี้ได้ ทุกอย่างมันคือการถอดประกอบออกมาเป็นส่วนๆ จากแต่ก่อนที่เราคิดว่าแค่สวยงานก็จบแล้ว มันไม่ใช่ ตอนนี้คือเราจะถอดประกอบอย่างไรให้คนถอดประกอบมาติดตั้งได้ง่าย และขนส่งได้ง่ายขึ้น ซึ่งองค์ประกอบความคิดซับซ้อนเหล่านี้ มันก็โยงมาถึงเรื่องของความเป็น Sustainable ด้วย ถ้าในแง่ของ Art เอง ความยากก็คือ บางวันได้ Construction Waste มาสีดำ สีเทา สีฟ้า แต่เราจำแนกด้วยประเภทของวัสดุและขนาดของมัน แล้วค่อยจัดเป็นองค์ประกอบ จะเห็นได้ว่าผลงานชิ้นนี้ บางชิ้นบางส่วน มันคือการที่เห็นสี Real เลยของวัสดุเหลือใช้ซึ่งตั้งใจให้เป็นแบบนั้น และก็ถูกจัดวางด้วยขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เป็นความ Maximal บนความ Minimal ดีกว่า

“และก็เรื่องของไวนิลเอง มันอาจจะไม่ได้เป็น Construction Waste โดยตรง แต่ว่ามันคือองค์ประกอบหลักๆ เลยเวลาที่เราก่อสร้างคอนโด บ้านและอะไรก็แล้วแต่ มันจะมีสิ่งนี้อยู่เยอะ เอ๋ก็เอามาสร้างเป็นตัวชิ้นงาน หนึ่งในองค์ประกอบของ Art Installation ในครั้งนี้ ศิลปะตอนนี้เราไม่อยากให้เห็นในมิวเซียมอย่างเดียว มันจะต้องเกิดขึ้นกับทุกๆ ที่ และยิ่งสำคัญถ้าเราพูดถึงสิ่งแวดล้อม เอาให้ศิลปะจับต้องให้ได้ เข้าถึงและ Touch ใจคนให้ได้ วันนั้นมันจะถึงการเปลี่ยน Mindset ขึ้นมาทันทีกับทุกๆ คน เอ๋อยากให้ศิลปะเป็นแบบนั้น”

ทำใมนิทรรศการชื่อว่า “ทั้งจำ ทั้งปรับ”

“ฟังแล้วเหมือนว่าเราต้องโดนข้อหาอะไรบางอย่าง มัน Relate กับความที่เอ๋กำลังสื่อสาร คือเรื่องของสิ่งแวดล้อม ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับผลกระทบที่เรากำลังสร้างขึ้น ดังนั้น คำว่า จำ คือ จำบทเรียนที่ผ่านๆ มาที่เราเคยใช้ชีวิตต่างๆ ถึงแม้ทุกคนจะบอกว่าฉันคัดแยกขยะแล้ว แต่เอ๋เชื่อว่าต้องมีหลงลืมอะไรบางอย่างบ้าง และวันนี้ ปรับ เปลี่ยนชีวิตของตัวเอง มาดูงานศิลปะแล้วลอง Action ก็คือลงมือทำดูสิ ลองเอาไอเดียที่ได้ในวันนี้ไปประยุกต์ใช้กับสายการทำงานของคุณดู ในมิติใดมิติหนึ่ง ให้แคร์ต่อผู้อื่น ต่อโลก และต่อเรื่องของสังคม”

ผลงานทั้งหมดนี้เกิดจากการรวมกันกับทีมชุมขนที่ชัยนาทและนนทบุรี 70 กว่าชีวิตร่วมกันสร้างสรรค์ในครั้งนี้ เขาใช้กรรไกร คัตเตอร์และไอเดียของเขา สองมือ และมีใจในการทำได้ออกมาเป็นชิ้นงานเหล่านี้ ซึ่งพยายามจะสื่อสารกับทุกคนว่า ทุกๆ คนทำได้ ขอแค่หยิบจับขึ้นมา

“ต้นไม้จำแลง” (Three-Tree Transformation)

“ต้นไม่จำแลงด้านหน้าเปลี่ยนได้ 3 ช่วง รวบรวมเอาวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่นท่อแอร์ ท่อพีวีซี ขวดพลาสติก เศษเหล็ก กังหันลม และอลูมิเนียมต่างๆ มาทำ ช่วงแรกเป็นฮาโลวีน มีหนึ่งลูกกระตา เหมือนตาวิเศษที่คอยจับตาดูว่าแต่ละคนทำพฤติกรรมอย่างไรบ้าง จากนั้นเป็นช่วงคริสมาสต์และอีกทีช่วงตรุษจีน”

“Sustainable Map”

“ตั้งใจพูดถึงเรื่องราวของเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เพลินจิต เพลินจิตเป็นแหล่งที่มีมายาวนาน สำคัญก็คือ ทุกๆ งานศิลปะของเอ๋ คนมักจะถามว่า จบงานนี้แล้วจะไปไหนกันต่อ ก็จะชวนทุกท่านไปสแกน QR Code ว่าเราจะไปเที่ยวไหนกันต่อดี ผลงานชิ้นนี้คือการเก็บรวบรวมวัสดุของทาง Noble มาสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง เศษไม้ เศษเหล็ก ออกมาชิ้นงานพร้อมแปะ QR Code ให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์ใกล้ๆ แถวนี้อยู่ไหน สถานที่หรือร้านอาหาร ที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือองค์กรสำคัญต่างๆ แถวนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง”

“ป่าคอนกรีต ผลิใบ”

“ป่าคอนกรีตในที่นี้เราพูดถึงบริบทของเมือง แต่วันนี้มันผลิใบขึ้นมามันกลายเป็นพลาสติกเต็มไปหมด จากป่าที่เขียวชอุ่มหรือรูปทรงธรรมชาติต่างๆ มันกลายเป็นรูปทรงวัสดุที่เราสร้างขึ้นมาจากพลาสติกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และก็ท่อพีวีซีด้านล่าง ตั้งใจให้เหมือนเมืองแนวตั้ง มองด้านนอกแล้วจะเป็นลักษณะของ Sustainable Map เหมือนเรามองภาพในมุมสูง ตึกเหล่านี้ทำจากท่อพีวีซี ไวนิล มัน remind ไปถึงเมืองจริงๆ”

ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/WishuladaPanthanuvong

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *