ฟิลิปส์ กับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ 3 มิติ

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2565 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจในประเทศไทยมากถึง 7 หมื่นรายหรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน ตั้งแต่ 15 ปี ฟิลิปส์ ผู้นำด้านเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพระดับโลก ร่วมรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลโรคหัวใจเนื่องในวันหัวใจโลก (World Heart Day) ที่ตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี พร้อมจัดเวิร์คช้อปเพื่อยกระดับความรู้ในการตรวจโรคหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขั้นสูงให้แก่บุคลากรทางการแพทย์กว่า 60 ท่านในงาน “2nd Primer in 3D Echo”

โรคหัวใจถือเป็นโรคที่อันตรายเพราะอาจจะไม่แสดงอาการอะไรเลยจนอาจเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันโดยโรคหัวใจมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือโรคหัวใจที่เกิดจากไลฟ์สไตล์และการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ อาทิโรคหลอดเลือดหัวใจโรคกล้ามเนื้อหัวใจและโรคลิ้นหัวใจเป็นต้นโดยในผู้ป่วยโรคหัวใจอาจจะมีอาการเหนื่อยหอบง่ายนอนราบแล้วอึดอัดต้องลุกขึ้นมานั่งช่วงกลางคืนเจ็บหน้าอกซึ่งมีลักษณะเฉพาะใจสั่นเต้นเร็วหรือเป็นลมหมดสติที่ไม่ได้เกิดจากการเป็นลมแดดหรือการยืนนานเป็นต้นดังนั้นการสังเกตความผิดปกติและการเข้ารับการตรวจหรือปรึกษาแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลโรคหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ

ศาสตราธิคุณแพทย์หญิงสมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง อุปนายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และประธานชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเพราะวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่ค่อนข้างเครียด เร่งรีบ อาหารที่รับประทานมีส่วนประกอบของแป้งและไขมันเพิ่มขึ้น การออกกำลังกายน้อยลง รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงแพทย์และการตรวจเฉพาะทางต่างๆแนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ แพทย์จะซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจโลหิตเพื่อประเมินเบื้องต้น และพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมทางหัวใจและหลอดเลือดตามข้อบ่งชี้ โดยหนึ่งในการตรวจทางหัวใจที่สำคัญคือการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ใช้หลักการของคลื่นอัลตราซาวด์ส่งผ่านหน้าอกผู้ป่วยไปยังหัวใจและสะท้อนกลับมาแสดงเป็นภาพหัวใจในขณะเคลื่อนไหวสามารถดูหัวใจทุกส่วนประกอบที่สำคัญ โดยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจนี้ไม่ใช้รังสีหรือสารทึบแสง ดังนั้นถือว่ามีความปลอดภัย และมีความสำคัญในการวินิจฉัยแยกโรคโรคหัวใจประเภทต่างๆเพราะการวินิจฉัยที่แม่นยำย่อมนำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องและได้ผลลัพธ์ที่ดี”

ในงานครั้งที่ 2 นี้ มีเสวนาในหัวข้อ “Basic to intermediate using 3DEcho in daily practice” ที่มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของการใช้งานเทคโนโลยีการหัวใจด้วยเสียงสะท้อนแบบ 3 มิติในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคหัวใจเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่การเลือกใช้เครื่องมือต่างๆบนโปรแกรมของเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนชนิด 3 มิติให้เหมาะสม การจัดการข้อมูลภาพ 3 มิติ และมีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีจริง โดยหวังว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากงานนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพการรักษาและการวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ฟิลิปส์ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพและมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนดังนั้นการรณรงค์ในวันหัวใจโลกจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจที่เราต้องมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนทั้งต่อตัวผู้ป่วยโดยการรณรงค์ให้ความรู้และเพิ่มการเข้าถึงระบบสาธารณสุขซึ่งเราได้มีการจัดและสนับสนุนกิจกรรมมากมายมาโดยตลอด ในขณะที่เราก็จำเป็นต้องสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทั้งการนำเสนอนวัตกรรมที่ทันสมัย การจัดการฝึกอบรมและให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ผลลัพธ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *