“สาธารณสุขแบบยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC)” ผลสำรวจโดย Kantar Profiles Network จาก 3,040 คน จากประเทศออสเตรเลีย, เกาหลีใต้, อินโดนีเซีย และประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงมุมมองของประชาชนต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในวงการสาธารณสุข และนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ให้กับระบบสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อส่งมอบบริการสุขภาพที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “คนไทยส่วนใหญ่ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพส่วนบุคคลกับสิ่งแวดล้อม และเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมและการนำแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขแบบยั่งยืนมาใช้ให้เกิดจริง ภายใต้แคมเปญ ‘Care Means the World’ เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงความคาดหวังของผู้คนด้านสาธารณสุขแบบยั่งยืนเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบนิเวศด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนำไปสู่การดูแลรักษาในอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน”
ประเทศไทยมีความตระหนักถึงแนวทางการดำเนินการแบบหมุนเวียน (Circularity) มากขึ้น ได้แก่ การรีไซเคิล (41%) และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (41%) ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขแบบยั่งยืนที่คนไทยตระหนักถึงมากที่สุด อุปสรรคหลักในการนำสาธารณสุขแบบยั่งยืนไปใช้จริง ได้แก่ การเข้าถึงบริการสาธารณสุขแบบยั่งยืน (41%), ต้นทุนที่สูงขึ้น (37%) และขาดแรงจูงใจด้านการเงิน (36%) นอกจากนี้การนำความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนไปสู่ระบบสาธารณสุขขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อนใช้เวลานาน (34%) และพวกเขายังมีความตระหนักน้อยเกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเมื่อเปรียบเทียบระหว่างระบบสาธารณสุขแบบเดิมกับแบบยั่งยืน (34%) อุปสรรคอื่นๆ อาทิ กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเมื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและความเคยชินในการปฏิบัติแบบเดิมส่งผลต่อการนำแนวทางปฏิบัติแบบใหม่มาใช้ให้เป็นเรื่องยากขึ้น
ฟิลิปส์ ร่วมกับผู้ให้บริการสาธารณสุขและพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนผ่านโซลูชันส์แบบหมุนเวียน (circular solutions), นวัตกรรม (innovations) และการให้ความรู้ ติดตามได้ทาง Philips’ ESG goals and environmental efforts