“นที อุตฤทธิ์” เรื่องราวทางวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์

“Déjà vu: The Last Chapter” ผลงานภาคจบชุดนี้ศิลปินชื่อดังชาวไทย นที อุตฤทธิ์ แสดงให้เห็นถึงการนำเสนอโดยใช้ความรู้และทักษะที่หลากหลาย ครอบคลุมถึงงานกระจกสี งานปัก ประติมากรรม และงานจิตรกรรม สื่องานผสมแต่ละประเภทจะพาท่านร่วมทบทวนถึงช่วงเวลาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะตะวันตกอีกครั้ง โดยเชิญชวนให้ผู้ชมครุ่นคิดทบทวนเรื่องราวที่เป็นที่ยอมรับของการพัฒนาทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ณ ริชาร์ด โคห์ ไฟน์อาร์ต กรุงเทพฯ (RKFA) ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2567

เดจาวู สื่อถึงปรากฏการณ์ “ที่ทำให้เราหวนนึกถึงฉาก และเหตุการณ์ต่าง ๆ ราวกับเคยเกิดขึ้นมาก่อน” แสดงให้เห็นถึงความคิดของศิลปินโดยการผสมผสานการนึกถึงภาพอดีต และปัจจุบันเข้าด้วยกัน ซีรีส์เดจาวูถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2562โดยเริ่มต้นด้วยการสมมุติถึงการเดินทางของพระพุทธเจ้าไปสู่โลกทางตะวันตกเพื่อพบกับวัฒนธรรมกรีก-โรมัน และสัญลักษณ์ชองชาวตะวันออก และตะวันตกอื่นๆ โดยปรากฎเรื่องราวเหล่านี้ในนิทรรศการทั้งสามตอน

ความคิดถูกขับเคลื่อนด้วยการค้นหาตัวตน และจากการพิจารณาอย่างละเอียดถึงสภาพของอาณานิคมที่ยังคงปรากฏอยู่ในประเทศไทย นทีเริ่มด้วยการวิเคราะห์ถึงวัฒนธรรมของเขาอย่างไตร่ตรอง ซึ่งในระหว่างการเดินทางทางความคิดครั้งนี้ได้ทำให้เขาได้มีส่วนร่วมในวาทกรรมในยุคอาณานิคมผ่านทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นแหล่งรวมจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของเอเชีย ในกระบวนการแสดงถึงความเป็นตัวตนของศิลปิน สื่อและองค์ประกอบของงานของเขามีบทบาทสำคัญ สื่อแต่ละประเภทตั้งแต่ภาพวาดและประติมากรรมไปจนถึงงานเย็บปักถักร้อย กระจกสี และภาพพิมพ์แกะไม้นั้น ถูกสอดคล้องกับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมหลักพระคัมภีร์ของชาวตะวันตก

“เดจาวู: บทสุดท้าย (ตอนที่ 3)” เน้นไปที่ภาพวาดของนที ผลงานที่นำเสนอนี้ท้าทายความไม่น่าจะเป็นไปได้ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นไปได้: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก? จะเป็นอย่างไรหากองค์พระพุทธเจ้าเสด็จไปทางตะวันตก? กับสถานการณ์สมมุติที่กระตุ้นถึงความคิดเหล่านี้ ความเหมือนกันระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงเกิดขึ้น และถักทอเป็นเรื่องเล่าวัฒนธรรมตะวันตก/ตะวันออกใหม่ด้วยการถ่ายทอดด้วยภาษาศิลปะของศิลปิน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *