“ผู้การแต้ม – น.พ.สิทธา” เด็ก 14 ยิงกลางห้างดัง

“พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ” อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ “น.พ.สิทธา ลิขิตนุกูล” นักวิชาการด้านจิตวิทยา ร่วมวิเคราะห์ทั้งในเรื่องกฎหมายและหลักจิตวิทยาความน่าจะเป็นของวัยรุ่นอายุ 14 กับเหตุการณ์ยิงกลางห้างดังเมื่อวันอังคารที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าเป็นเด็กตามปกติวิสัยหรือไม่ หรือมีอะไรมาชักจูงใจให้ก่อเหตุดังกล่าว พร้อมวิเคราะห์หลักกฎหมายคุ้มครองเด็กต่ำกว่า 15 ปี ดีกับตัวเด็กจริง หรือเป็นช่องทางทำให้เด็กที่ชอบริอ่านอยากลองก่อคดีมากขึ้นและหากประชาชนอยู่ในเหตุการณ์ควรปฏิบัติอย่างไรในรายการ “คนดังนั่งเคลียร์” ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 17.15 น. ทางช่อง 8 กดเลข 27

ประชาชนที่อยู่ร่วมด้วยควรทำตัวอย่างไรคะ?

พล.ต.ต.วิชัย: หลักเวลามีเหตุ ขอบอกก่อนเลยว่า 1.ถ้ามีเหตุการณ์เราต้องเอาตัวห่างออกจากที่เกิดเหตุให้มากที่สุด เพราะเราไม่รู้เหตุนั้นมันจะเกิดอย่างไร  2.เราต้องหาที่ซ่อน แล้วต้องเก็บตัวให้เงียบที่สุด บางคนไปซ่อนแล้วดันโทรศัพท์ดังแบบนี้ เราไม่รู้ว่าคนร้ายจะมากี่คน ถ้าคนร้ายมา 2 คน พอเสียงดังเขาก็จะมาจัดการได้ หรือบางคนไลฟ์สดว่าอยู่ตรงไหน แอบตรงไหน พอเห็นเหตุการณ์ก็เอากล้องไปไลฟ์อีก คนร้ายก็อาจจะมาจัดการเรา 3.ถ้ามีโอกาสต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้เร็วที่สุด เพื่อไปแก้สถานการณ์ ไปดูแลความปลอดภัย ถ้ามีโอกาสเราต้องทำคือหลักการความปลอดภัยที่เขาบอกไว้กันอย่างนี้ แล้วก็เป็นความจริง

ตำรวจหายไปไหน ทำไมให้เกิดเรื่องแบบนี้คะ?

พล.ต.ต.วิชัย: คือจริงๆเราอย่าไปโทษตำรวจอย่างเดียว ตำรวจเป็นผู้ดูแล และรักษากฎหมาย ถ้าไม่มีเหตุ เขาก็ไปทำอะไรกันไม่ได้ แต่มีเหตุนึงคือ วิธีการป้องกันที่จะไม่ให้เกิดเหตุ ดังนั้นเหตุเรื่องนี้ เราต้องมาดูก่อนว่า เวลามีเหตุตำรวจเขาจะไปดูมูลเหตุแรงจูงใจ เกิดจากอะไร อย่างเด็กเนี่ย ดังภาพที่ปรากฏเด็กนี่ไปธรรมดา แล้วไปแต่งตัวเลียนแบบ อาจจะไปเลียนแบบของต่างประเทศมาใช่ไหมครับ แล้วก็มายิง จากที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศการแต่งตัว ทำอะไรเหมือนกันหมด และเราก็ต้องไปดูมูลเหตุจูงใจว่า ลอกเลียนแบบหรือเปล่า ดูมาจากภาพยนตร์หรือเปล่า มาจากเกมหรือเปล่า อันนี้เขาวิเคราะห์แล้วว่า ค่อนข้างจะมาจากเกม แต่หมายความว่าการเล่นเกมไม่ใช่สิ่งเลวร้ายทั้งหมด แต่พอเล่นเกมแล้วเนี่ย มันก็ต้องโยงไปถึงผู้ปกครองเด็ก ต้องดูว่าตอนที่เขาเล่นเกม เขามีจิตอย่างไร บางคนอยู่คนเดียว ไม่รู้ไปปรึกษาใคร ก็หันหน้ามาเล่นเกม พอไปเจอเกมที่มันดุดัน บางทีมีเพื่อนในการเล่นเกมที่ส่งมาด้วยกันเนี่ย มันปลุกจิต และถ้าเด็กคนนั้นมีสภาพที่เรียกว่าจิตเวช มันก็เลยไปกันใหญ่ ก็เลยไปก่อเหตุตรงนี้

ประชาชนคุมสติไม่ได้ ต้องทำอย่างไรคะ?

น.พ.สิทธา: ขอขยายประเด็นจากทางพี่แต้มเลยนะครับ จะมีศัพท์ 3 คำ เวลาเผชิญหน้ากับเหตุการณ์คือคำว่า หนี ซ่อน สู้ ครับ คำว่าหนีก็คือเวลาเราไปไหนก็ตาม ไปห้างเราต้องรู้ทางออกก่อนนะครับ รู้ทางหนีฉุกเฉินก่อนนะ ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นเราจะไปตรงไหน แล้วหนีอย่างไร ตั้งสติให้ดี ทิ้งของที่ไม่จำเป็น  เอาชีวิตทิ้งของไปก่อน ซ้อน ซ้อนในที่มิดชิด ซ่อนหลังกับวัตถุใหญ่ๆ เขาบอกแบบนี้ บังให้มิดชิด ที่สำคัญปิดเสียงมือถือที่อย่างพี่แต้มบอกเลยครับ แสงแฟลช ล็อกประตูด้วยนะครับ สุดท้ายสู้ ถ้าต้องเผชิญหน้า และมันจำเป็นจริงๆ เขาบอกว่าให้ช่วยกันสู้

กระทรวง ISP ปล่อยให้มีเวปสอนวิธีทำปืนแบบนี้ได้อย่างไร?

พล.ต.ต.วิชัย: นี่แหละ เวลามีเหตุอะไร ควรถอดออกมาแล้วเป็นบทเรียน แต่ไม่ทำสักที ผมยกตัวอย่างแล้วกันอย่าง กระทรวงต้องไปดูแลแล้วว่าสิ่งนี้มันไม่ถูกต้อง ต้องปิด เหมือนเว็บการพนันก็ไม่ทำทำไมไม่จับ แล้วมาอ้างว่าทำไมไม่จับ เพราะต้นทางของความผิดคุณยังไม่ทำ แต่คุณจะมาหาวิธีแก้ไข อันนี้ยกตัวอย่างให้ฟัง ดังนั้นรัฐต้องเห็นความสำคัญ เราก็ไม่อยากให้เห็นว่ามีเหตุเกิดขึ้นอีกครับ เพราะขนาดนี้ประเทศไทยมี 3 เหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่โคราช อันนั้นเขามีสาเหตุความเจ็บใจ อีกอันตำรวจที่อุบลราชธานี ยิงเด็กตาย 10-20 คนก็มีเหตุ อันนี้อีกเรายังไม่รู้สาเหต แต่ที่สังเกตุได้คือ ก่อนที่เขาจะไปยิง ผมมองว่าเขามีการเตรียมการ เห็นไหมพอไปถึงห้างเขาเปลี่ยนเครื่องแบบให้เหมือนกับเด็กที่สหรัฐ บางที่เด็กเขามีความเครียด เขาอาจจะไปปรึกษาผู้ใหญ่ได้ เขาเลยหันมาอยู่กับเกม กับโซเชียล บางครั้งมันเลยเสพอะไรที่น่ากลัวเข้าไป

น.พ.สิทธา: แต่สิ่งสำคัญนะครับอาจารย์ เรื่องของโซเชียลมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ การที่เราเข้าถึงโซเชียลได้มันเป็นข้อดีมากขึ้น ถ้าเกิดในทางที่ถูกคือ ได้เรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่เนื้อหาในทางที่ผิดที่เราเข้าถึงเว็บบางเว็บนะครับ ถ้าเรามีผู้ปกครองอยู่ด้วย คอยชี้แนะไม่ใช่ให้เด็กอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ในเกมออนไลน์อย่างเดียว ถ้าผู้ปกครองมีเวลาอยู่กับเด็กๆ ได้ชี้แนะบางเรื่อง ปัญหาตรงนี้อาจจะลดลงได้

เด็กมีบัตรผู้ป่วย เด็กพิเศษ หรือบัตรอะไร?

น.พ.สิทธา: บัตร ESSENCE ที่เห็นในบัตร หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเด็กพิเศษ เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางระบบประสาท หรือเด็กจิตเวช ซึ่งรวมไปถึงโรคสมาธิสั้น ไบโพลาร์ในเด็ก หรือโรคจิตเวชอื่นๆในเด็กก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นชื่อโรงเรียนด้วย เพราะฉะนั้นอันนี้ยังระบุไม่ได้ แต่ข่าวออกมาแล้วว่าคุณครูยืนยันแล้วว่าไม่ใช่เด็กพิเศษครับ

ถ้าเลียนแบบเกมก็คงเป็นฆาตกรกันหมดไปแล้ว เกมมันทำให้ฆ่าคนได้จริงหรือคะ?

น.พ.สิทธา: คือถ้าเกมเบาๆฝึกสมอง สมมุติเป็นเกมบอร์ดเกมต่างๆ หมากรุก เกมเศรษฐี ถ้าแพ้ก็คงไม่มีใครเอาปืนไปยิงใคร เพียงแต่ว่าเกมที่มีในสื่อที่มีกระแสว่าเด็กไปเล่น เป็นเกมที่ใช้ความรุนแรง ความรุนแรงคือการต่อสู้ มีคนแพ้จริง มีคนตายจริงในเกม แสดงว่าต้องจัดเรตแล้วว่าเด็กเล่นได้อายุเท่าไร? ถูกต้องครับ

พล.ต.ต.วิชัย: เกมมันมีหลายเกมอย่างที่หมอพูด เกมสนุก รื่นเริง แม้แต่เกมเรื่องความรุนแรง แต่ทุกเกมมันจะไปเกี่ยวข้องกับตัวคนอย่างน้องคนเนี่ย อาจจะมีทางจิตเวชบวกกับเกมที่รุนแรงขึ้นมา และอาจบวกกับลัทธิเลียนแบบเข้ามา มันก็เลยผสมกันบวกกับภาวะที่เขาอาจจะมีกดดันจากสภาพครอบครัว โรงเรียน สังคม หรืออะไรก็ได้ มันเลยมาบวกกัน จึงเกิดตรงนี้ ดังนั้นมาบอกว่าเล่นเกมต้องเป็น มันไม่ใช่แต่เกมมันเป็นส่วนนึงที่มาบวกกันหลายๆอย่างทำให้เกิดเหตุขึ้นมา เขาก็เลยมาพูดว่าในการเล่นเกมอย่างที่หมอพูด ผู้ใหญ่ต้องมาคอยดูครับ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุการณ์ที่ปกติแต่เป็นการเลียนแบบ?

พล.ต.ต.วิชัย: เพราะอะไรรู้ไหมเด็กก่อนจะไปมีเหตุการณ์ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวให้เหมือนคนนั้นเลย ยิงเหมือนกัน ยิงในที่ชุมชนที่มีคนมาก สังเกตไหมว่าเลือกยิงผู้หญิงทั้งนั้นเลย ดังนั้นผมเคยคุยกับหมอ คนกลุ่มพวกนี้จะทำกับคนที่อ่อนแอที่สุด ผู้หญิง มีผู้ชายคนนึงที่บาดเจ็บ ดังนั้นเขาจะเลียนแบบ เรียนรู้จากพวกนี้พอสมควร แต่จะเลียนแบบจากอะไรเท่านั้นเองครับแต่สิ่งที่ปรากฏมันเหมือนหลายอย่างมาผสมกันจากต่างประเทศ จากภาพยนตร์ เกม พฤติกรรมของการต่อสู้ แม้แต่การให้ถูกจับกุม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *