“แสง” ของปรีชา เถาทอง กับ Generative System

นิทรรศการ “The Archetype and the Avant-Garde: Luminous Journey” เป็น Collaboration อันน่าทึ่งครั้งแรกระหว่างศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ 2522 “ปรีชา เถาทอง” และ “พงษ์พันธ์ สุริยภัทร” ศิลปินรุ่นใหม่กับเทคนิคที่ขึ้นชื่อของเขา Generative System ที่กำลังจัดแสดง ณ ละลานตา ไฟน์อาร์ต (La Lanta Fine Art) ชั้น 3 อาคาร EMS ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซอย 22 ตั้งแต่วันนี้จนกระทั่งวันที่ 7 มิถุนายน 2566

การ Collaboration นี้ เริ่มจากผลงานชุดธรรมจักรของ ปรีชา เถาทอง ที่นำเสนอสัจธรรมเกี่ยวกับมนุษย์ที่ถือกําเนิดจากธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในรูปแบบของงานศิลปะจากสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ตอนกลางและตอนปลาย และ พงษ์พันธ์ ได้นำผลงานและแนวคิดจากปรากฏการณ์ทางแสงและเงาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายของ ศ. ปรีชา มาผนวกเข้ากับการสังเกตปรากฏการณ์ของแสงในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยการนำเอาคุณสมบัติเพิ่มเติมต่าง ๆ ของแสง อาทิ การสะท้อน ( Reflection ) การหักเห (Refraction) การเลี้ยวเบน (Diffraction of Wave) และการแทรกสอดของคลื่น (Interference) และสมบัติของคลื่นในด้านอื่น ๆ อันสามารถสร้างปรากฏการณ์ทางสุนทรียะในอีกหลากหลายมิติ ที่สามารถสื่อถึงชีวิต และธรรมชาติได้เช่นเดียวกัน

“ปรีชา” กล่าวว่า “ใช้ธรรมะและธรรมชาติ เป็น Keyword หลักของ 3 ชิ้นงานนี้ ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากคำสอนของศิลปินรุ่นเก่ามาเป็นธรรมจักร ธรรมจักรชิ้นแรกระหว่างอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ธรรมจักรชิ้นที่สอง ช่วงต้นและปลายรัตนโกสินทร์ และธรรมจักรที่สาม ช่วงรัชกาลที่ 9 หลักการของธรรมจักรใช่ แต่ตีความใหม่ในรูปแบบ art form ของผม ผมจะพัฒนาเอาเทคนิคลงรักปิดทอง ธรรมจักรที่สาม ปรัชญาของมหาชนก คือแม้จะไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายต่อไป เพียรที่จะพัฒนาคนให้เป็นคนดี ไม่ใช่ให้เป็นมหาชนก และคนในความหมายของรัชกาลที่ 9 เหมือนกับต้นไม้ 9 ประเภท แทนค่าคน 9 ประเภท ซึ่งอยู่ใน 12 นักกษัตรย์ ลายดิน ลายไฟ ลายน้ำ ยังเหมือนเดิม”

“พงษ์พันธ์” กล่าวว่า “ต้องคิดเยอะมาก มีหลากหลายประเด็นที่แฝงอยู่ในทั้งงานของอจ.ปรีชาเองและแนวคิดของอจ.ปรีชา ปัจจัยแรก แต่พอมาพูดถึงธรรมะ ธรรมชาติ กับแสงแล้ว การเดินทางเป็นเส้นตรงของแสง จะทำอย่างไรให้ชิ้นงานก้าวข้ามแสงและเงาที่ผู้ขม เราจะใช้วิทยาศาสตร์และธรรมชาติมาอธิบายงานได้อย่างไร เราอยากจะดึงเวลาให้คนเห็นถึงคุณค่าของชีวิต ต้องมีการรอคอยเพื่อที่จะได้รับอะไรบางอย่างที่มีค่า การเข้ารับชมงานนี้จะเป็นช่วงเวลาที่คิดทบทวนว่าชีวิตคืออะไร เป็นอย่างไร ทำอย่างไร

พูดถึงเทคนิค Generative System

“พงษ์พันธ์”: Generative System มันเกี่ยวตอนเรียนปริญญาโท เป็นหลักสูตรที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อิเล็คโทรนิคสร้างงานศิลปะ เรียกว่าต้องไปถอดรหัสธรรมชาติจากโค๊ด สมการคณิตศาสตร์ รหัสธรรมชาติก็มีหลายอย่างตั้งแต่การแตกกิ่่งของต้นไม้หรือลวดลายที่เกิดขึ้นบนตัวของเสือ ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ มันมีชุดสมการอยู่แล้ว นั่นเป็นสาเหตุว่าทำใมเสือแต่ละตัวลายไม่เหมือนกัน แต่มีอัตลักษณ์อะไรบางอย่างที่ทำให้รู้ว่านี่คือเสือดาวหรือเสือโคร่ง เรียกว่าสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสามารถถอดรหัสธรรมชาติ เราจะมองให้เห็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะก็ได้

เอามา merge กับอาร์ต

“พงษ์พันธ์”: สมมุติเรามองลวดลายเสือดาวว่ามันสวย ลายเสือดาวก็เป็นศิลปะ เป็นสุนทรียศาสตร์ แต่เราอยากจะสร้างเสือดาว 1,000 ตัวให้ไม่เหมือนกันเลย มันก็มีชุดสมการชุดหนึ่งซึ่งสร้างลวดลายนั้นๆ ลวดลายเสือดาวเกิดขึ้นด้วยระบบ Reaction Diffusion

การ Collaboration กับอาร์ตยากง่ายตรงไหน

“พงษ์พันธ์”: ต้องคุยกันเยอะๆ ให้เข้าใจกัน แล้วมันแทบจะไม่ทำอะไรมาก เพราะว่าเราเข้าใจเขา เขาเข้าใจเรา มันก็เหมือนนักดนตรีที่แจมได้เลยโดยที่ไม่ต้องไปซ้อม

มาตกผลึกแบบนี้ได้อย่างไร

“พงษ์พันธ์”: ผมมีการตั้งแกนไว้หลักไว้หลายแกน อย่างแรกคือเรื่องของตัวตนของอจ ปรีชา เรื่องของแสง เราพูดถึงแสงในมิติอื่นๆ แต่กระบวนการอื่นๆ ก็ไม่ได้มีความคิดแบบนี้นะ ก่อนการทำงานเราต้องสร้างกระบวนความคิดก่อน สร้างกรอบอีกว่าเราจะผลิตงานโดยอยู่ภายใต้กรอบอะไร ซึ่งถามว่ามันยากมั้ย ไม่ยากแต่ต้องใช้เวลาพูดคุยกันและเข้าใจกัน งานขั้นตอนสุดท้ายไม่นาน เวลาในการคุยนานกว่าทำงาน คุยกันอยู่หลายเดือน ตอนแรกผมไปคุยกับอจ ปรีชาว่าผมมองแสงเป็นอย่างไร ผมคิดว่าผมจะเอาลมมาทำเป็นลม เพราะว่า อจบอก ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่สุดท้ายเราไปจบที่เรื่องแสง ตอนแรกก็คิดว่าจะทำดิน น้ำ ลม ไฟ มีงานดินด้วย มีงานลมด้วย แต่มันดูเยอะไป

คนที่มาดูงานจะให้ความสอดคล้องและความแตกต่าง

“พงษ์พันธ์”: คือผมว่าความสำคัญของงาน มันคืองาน Installation มันต้องอยู่ในบริบทนี้ ถ้ามีบ่อน้ำไม่มีงานของอจ แรงปะทะที่ได้กับผู้ชมก็ไม่ได้ หรืองานของอจ ปรีชา แขวนอย่างเดียว แรงปะทะแบบนี้ก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้นความสำคัญก็คือทำอย่างไรให้งานมาอยู่ด้วยกันแล้วมันเป็นงานเดียวกันที่แยกจากกันไม่ได้

คนมาดูจะได้รับอะไรจากสองสิ่งนี้

“พงษ์พันธ์”: คิดว่าเขาจะได้ถึงการตีความในโจทย์เดียวกัน แต่ออกมาเป็นการแสดงออกทางสุนทรียคนละแบบกันแต่ทุกอย่างเชื่อมโยงกัน ผมอยากให้เขามาดูผลงานเท่านั้น ผมอยากให้เขาเข้ามาดูและรอ และใช้เวลา งานนี้ไม่มีอะไรเลย ต้องรอถึงจะเกิด งานนู้นมีอะไรมากมาย ต้องรอถึงจะหยุด คือเล่นกับการรอคอยจังหวะเวลาของผู้ชม อย่างงานซีรีส์ที่แล้วของผมก็จะเป็นต่อ Printer กับฐานข้อมูลอุบัติเหตุรถชน Setting ก็จะคล้ายๆ แบบนี้ มีฝ้า Printer ซ่อนใต้ฝ้าตกลงมาบนพื้นถนนยางมะตอย ถ้ามีผู้เสียชีวิต เขาก็จะ Print ใบเสร็จคนตายตกลงมา ซึ่งเราไม่รู้ว่าคนจะตายเมื่อไหร่ เราก็ต้องรอ แต่การรอนั้นมันรอเพื่ออะไร รอเพื่อให้เห็นกระดาษตกหรา พอเราเห็นมันเกิดขึ้น เราปิติใช่มั้ย เฮ้ย น้ำหยดแล้ว เกิดเป็นภาพแล้ว เราปิติ แต่อีกงานมันกลับกัน แทนที่จะเห็นและปิติ กลายเป็นเห็นแล้วหดหู่ ฉะนั้นเป็นซีรีส์ 2 งานที่เราดึงเวลาเพื่อให้คนมีประสบการณ์กับชิ้นงาน

การรอคอยของคุณมาอย่างไร

“พงษ์พันธ์”: ตอนแรกเราทำ Interactive Art หรือ Interactive Media ที่เอามือไปจับแล้วก็เกิด หรือคนเดินหน้าโถงรัตนโกสินทร์ เวลาคนโบกมือผ่านไปนกแตกฮือ งานผมเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ก็คือมันเกิดปฏิสัมพันธ์แบบฉับพลัน หรือพื้นที่เหยียบไปและมีผีเสื้อบิน มันเป็นงานปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เราอยากจะ Challenge ตัวเองว่า จริงๆ งานที่ปฎิสัมพันธ์กับคนที่รับชม มันไม่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันได้มั้ย แต่มันมีปฎิสัมพันธ์กับคนแบบที่เขาต้องรอ เพราะว่าทุกวันนี้ กึ่งสำเร็จรูป ทันใจ กดสั่งแก๊ปๆ ต้องมา กดเรียกรถๆ ต้องมา โหลดหนังต้องมา กระตุก 3 วินาที ซึ้อโทรศัพท์ใหม่ดีกว่า คือคนเรารอไม่ได้ ผมก็เลยคิดว่า รอบ้างดีกว่า ดึงช่วงเวลาให้มันยาวขึ้นในการที่จะรับอะไร เพื่อจะทำให้จิตใจคนนิ่งลง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *